วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ระบบย่อยอาหารหรือทางเดินอาหาร Digestive System (5)



ต่อมในกระเพาะอาหาร ( Gastric glands) มี 3 ชนิด คือ
1. Cardiac glands มีหน้าที่ขับ Mucin
2. Peptic glands ต่อมนี้ประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด คือ
ก. Chief cells ที่ทำหน้าที่หลั่ง Pepsinogen
ข. Parietal cells ทำหน้าที่สร้างและหลั่งกรดเกลือ (HCL) รวมทั้ง Intrinsic factors ต่างๆ กรดเกลือมีหน้าที่ฆ่าแบคทีเรีย ที่ปะปนมากับอาหารทำให้อาหารไม่บูดเน่า หรือไม่เกิดการติดเชื้อขึ้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยน Pepsinogen ให้เป็น Pepsin ที่ใช้ในการย่อยโปรตีนอีกด้วย
Intrinsic factors เป็นสารประเภท Glycoprotein จะทำหน้าที่รวมกับ Vitamin B12 แล้วทำให้ vitamin B12 ถูกดูดซึมได้ดีที่ Ileum เพราะ Vitamin B12 เป็นสารที่มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง (RBC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญของ Nucleus ถ้าขาด Intrinsic factor ในรายที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังมากๆ ก็จะทำให้ร่างกายขาด vitamin B12 ซึ่งจะทำให้เกิด โรคโลหิตจางชนิด Pernicious anemia ได้
ค. Mucous neck cells ทำหน้าที่หลั่งน้ำเมือก (Mucous) ออกมาเคลือบกระเพาะอาหารเพื่อป้องกันการถูกย่อย
3. Pyloric glands มีหน้าที่ขับ Pepsinogen และ Mucin
ที่กระเพาะอาหารมี Vagus nerve ซึ่งเป็นทั้ง Motor nerve และ Secretory nerve และมี Intrinsic nerve plexus อยู่ในกระเพาะอาหาร โดยมี Symphathetic fibers ซึ่งมี Transmit pain fibers และส่ง Impulse ที่ห้ามไม่ให้กระเพาะอาหารผลิตน้ำย่อยด้วย 
 
หน้าที่ของกระเพาะอาหาร
·         เป็นที่เก็บกักอาหารก่อนที่จะส่งต่อผ่านไปยังลำไส้เล็ก (Storage of food) อาหารจะถูกย่อยและเปลี่ยนแปลงโดยกลวิธีต่างๆ จนกลายเป็นของเหลวเล็กน้อย เรียกว่า Chyme
·         การเคลื่อนไหว (Gastric motility) เพื่อคลุกเคล้าอาหารให้สัมผัสกับน้ำย่อยและส่งอาหารที่อยู่ในสภาพของ Chyme ไปสู่ลำไส้เล็กเป็นระยะ ๆ ในอัตราเร็วที่พอเหมาะ ทั้งนี้เพื่อให้ลำไส้ได้มีโอกาสย่อยและดูดซึมได้ดี
·         การขับน้ำย่อยในกระเพาะ (Gastric juice) ซึ่งเป็นน้ำใส มีคุณสมบัติเป็นกรด ความถ่วงจำเพาะ 1.002-1.003
สารคัดหลั่งของกระเพาะอาหาร
1. กรดเกลือ(HCl) ผลิตมาจาก Parietal cell ที่แทรกใน Gastric glands ในรูปของ H+, Cl- ผ่านทาง Canaliculi
2. สารเมือก (Mucous) ผลิตมาจาก Mucous cell ที่บุใน Gastric gland ตอนบน
3. Pepsin หลั่งจาก Peptic cell หรือ Chief Cell
4. Gastrin Hormon หลั่งจาก Gastric cell
การหลั่งของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร
1. Cephalic Phase เกิดขึ้นก่อนที่อาหารจะลงสู่กระเพาะอาหาร โดยเกิดจากการเห็น การได้กลิ่น การรับรสของอาหาร หรือแม้แต่การคิดถึงอาหารที่ชอบ
2. Gastric Phase เกิดขึ้นเมื่ออาหารตกลงไปในกระเพาะอาหาร จะไปกระตุ้น Long vagovagal reflexes, Local enteric reflexes และ Gastrin จากการที่อาหารไปทำให้ผนัง ของกระเพาะอาหารยืดออก
3. Intestinal Phase เมื่ออาหารไปสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ก็มีการกระตุ้นการหล
ลำไส้เล็ก (Small intestine)
เป็นท่อทางเดินอาหารที่ยาวมาก โดยจะเริ่มจาก Pylorus ของกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. ลำไส้เล็กส่วนต้น เรียกว่า Duodenum เป็นลำไส้เล็กส่วนที่ต่อจาก Antrum ของกระเพาะอาหาร มีความยาวประมาณ 10 นิ้ว ทอดโค้ง และมีลักษณะคล้ายตัว C ที่ลำไส้เล็กส่วนต้นจะมีท่อน้ำดี (Common bile duct) และท่อที่นำน้ำย่อยจากตับอ่อน (Pancreatic duct) มาเปิดด้วย
2. ลำไส้เล็กส่วนกลาง เรียกว่า Jejunum มีความยาวประมาณ 8 ฟุต
3. ลำไส้เล็กส่วนปลาย เรียกว่า Ileum มีความยาว 12 ฟุต ลำไส้เล็กส่วนปลายนี้จะเปิดติดต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วน Cecum ตรงนี้จะมีลิ้น เรียกว่า Ileocecal valve เพื่อกันไม่ให้อาหารในลำไส้ใหญ่ไหลย้อยกลับเข้าสู่ลำไส้เล็กอีก
ในลำไส้เล็กจะมี Globet cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่แทรกอยู่ระหว่างเยื่อบุผิว (Epithelium) ด้านในของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่หลั่ง Mucous ออกมาเคลือบและหล่อลื่นภายในลำไส้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น