วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ระบบย่อยอาหารหรือทางเดินอาหาร Digestive System (8)

 
รูป ที่ 9 รูปแสดงส่วนต่าง ๆ ของลำไส้ใหญ่ (ที่มา Agur AMR. and Lee MJ. Grant's atlas of anatomy 10th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer, 1999: 235-250.)
การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ แบ่งได้เป็น 2 แบบ
1. การเคลื่อนไหวแบบ Mixing movement หรือ Haustral contraction เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ เกิดเป็นช่วงๆ ตามความยาวของลำไส้ใหญ่ ทำให้เรามองเห็นลำไส้ใหญ่มีลักษณะเป็นกระเปาะ (Haustra) การเกิด haustra จะเกิดโดยมีการเลื่อนไปทางด้านทวารหนักอย่างช้าๆ เป็นเหตุให้กากอาหารแนบกับผนังลำไส้ใหญ่ได้ดี ช่วยในการดูดซึมน้ำได้ดียิ่งขึ้น
2. การเคลื่อนไหวแบบ Mass movement เป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะที่คล้ายกับการเกิด Peristalsis เป็นการช่วยให้กากอาหารเกิดการเคลื่อนตัวลงสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย การเคลื่อนไหวแบบนี้จะเกิด 3-4 ครั้ง/วัน เท่านั้น มักจะเกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหาร เรียกว่า Gastrocolic reflex
สิ่งที่มากระตุ้นการเคลื่อนไหวของ Mass movement มีหลายอย่าง เช่น
ก. การยืดออกของกระเพาะอาหาร โดยอาศัยอาหารที่เรากินเข้าไป (Gastrocolic reflex)
ข. การยืดของผนัง Duodenum (Duodenocolic reflex) ซึ่ง Reflex ทั้งสองชนิดนี้จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ Mass movement ภายหลังการรับประทานอาหาร
ค. การระคายเคืองของผนังลำไส้ ถ้าผนังของลำไส้ใหญ่เกิดการระคายเคือง ด้วยสิ่งต่างๆ จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ Mass movement เกือบตลอดเวลา
ง. ระบบประสาท การกระตุ้น Parasymphathetic ที่มาเลี้ยงลำไส้ใหญ่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ Mass movement เพิ่มขึ้นและแรงขึ้น
การดูดซึมน้ำของลำไส้ใหญ่
Nerves ที่มาสู่ลำไส้ใหญ่ คือ Autonomic nerve ที่แตกมาจาก Mesenteric plexus และ Hypogastric plexus
หลอดโลหิต ที่นำโลหิตมาสู่ลำไส้ใหญ่ คือ Superior mesenteric artery และ Inferior mesenteric artery
Chyme ที่ผ่านออกมาจาก Ileum จะเข้าสู่ Cecum วันละ 300-500 ซีซี ซึ่งประกอบด้วยอาหารที่ไม่ถูกย่อย ได้แก่ ผนังเซลล์ของพืช ซึ่งประกอบด้วย Cellulose รวมกับอาหารที่เหลือจากการดูดซึมจากลำไส้เล็ก กากอาหารเหล่านี้จะถูกแปลสภาพโดยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้หลายชนิด โดยเฉเพาะพวก Bacilli (E. coli) ซึ่งพบมากในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น เชื้อแบคทีเรียพวกนี้จะทำหน้าที่สังเคราะห์ Vitamin K, B12, B1 (thiamine), B2 (riboflavin) นอกจากนี้ยังช่วยสลาย Cellulose ให้ได้พลังงานออกมาบ้างเล็กน้อย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น