วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ระบบย่อยอาหารฯ Digestive System (10)

 
รูปที่ 11 แสดงส่วนประกอบในตับอ่อน (ที่มา http://www.ostc.thaiembdc.org/article6.html)

ตับอ่อน (Pancreas )
เป็นต่อมที่ตั้งอยู่ในแนวขวางบนผนังหน้าท้องทางด้านหลัง ตรงกับกระดูกสันหลังระดับเอว ชิ้นที่ 1 และ 2 ส่วนหัวของต่อมจะติดอยู่กับส่วนโค้งของ Duodenum ส่วนปลายจะเรียว หางของต่อมจะติดกับม้าม ตับอ่อนจะยาวประมาณ 15-20 ซม. น้ำหนัก 80-90 กรัม ตรงกลางจะมีท่อเรียกว่า Pancreatic duct ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของท่อเล็กๆ ที่ออกจากแต่ละ Lobule ของต่อมและมารวมกันกลายเป็นท่อใหญ่ที่เรียกว่า Pancreatic duct :Pancreatic duct และ Common bile duct ซึ่งเป็นท่อจากตับจะมารวมกันแล้วเปิดเข้าสู่ Duodenum ตรงบริเวณที่ต่ำกว่า Pylorus ประมาณ 7.5 ซม.ท่อทั้งสองนี้เมื่อมารวมกันแล้วจะมีลักษณะขยายพองโตออก เรียกว่า Ampular of vater และก่อนที่จะถึงรูเปิดเข้าสู่ Duodenum จะมีหูรูดซึ่งเรียกว่า Sphincter of oddi ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำดี และ Pancreatic juice ที่จะเข้าสู่ Duodenum
 
ตับอ่อน แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนตามหน้าที่ คือ
ส่วนที่สร้างน้ำย่อยเป็น Exocrine part และส่วนที่สร้างฮอร์โมนเป็น Endocrine part ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Islet of langerhans ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ คือ Insulin และปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง น้ำย่อยจากตับอ่อน (Pancreatic juice) เป็น External secretion เข้าสู่ Duodenum เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร จำนวนน้ำย่อยที่ถูกขับออกจากตับอ่อนจะมีประมาณ 800-1,000 ซีซี/วัน ประกอบด้วย น้ำประมาณ 98% และส่วนที่เป็นน้ำย่อย (Enzyme) ประมาณ 2% และโดยปกติน้ำย่อยจากตับอ่อนจะมีปฏิกริยาเป็นด่าง เพราะมี Bicarbornate (HCO3- ) อยู่มาก
ตามปกติแล้วอาหารต่างๆ จะถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ในลำไส้เล็ก โดย Enzyme ที่หลั่งจากตับอ่อนและจากลำไส้เล็กเอง ขบวนการย่อยในลำไส้เล็กต้องการ pH ที่เป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย เนื่องจาก pH ของ Chyme ที่ผ่านมาจากกระเพาะอาหาร มีความเป็นกรดสูง จึงต้องถูกทำลายด้วยด่างก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการย่อยที่ลำไส้เล็กต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น