วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ระบบย่อยอาหารฯ Digestive System (13)

 
รูปที่ 14  แสดงส่วนประกอบภายในตับ (ที่มา http://www.izbi.uni-leipzig.de/projekte/JRG/LiverReg.php)
ระบบเลือดไหลเวียนในตับ
1. ระบบหลอดเลือดแดงที่นำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงเนื้อเยื่อมาทาง Hepatic artery มีประมาณ 25%
2. ระบบหลอดเลือดดำที่นำอาหารและอิเล็กโทรไลต์ จากการย่อยในระบบทางเดินอาหารผ่านเข้า มาทาง Hepatic portal vein 75 %
3. ระบบหลอดเลือดดำที่นำเลือดที่ผ่านการทำลายสารพิษโดย Kupffer cell แล้วทาง Hepatic vein และเทเข้า IVC กลับสู่หัวใจ
4. ระบบหลอดเลือดฝอยภายในเรียกว่า sinusoidal system 

หน้าที่สำคัญของตับ
·         หน้าที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory function) เลือดดำทั้งหมดจากภายในอวัยวะในช่องท้องจะไหลเข้าสู่ตับก่อนที่จะเข้าสู่ ระบบไหลเวียนทั่วไป เมื่อเลือดไหลเข้าสู่ตับมาก เลือดที่ไหลออกจากตับก็จะมากด้วย ถ้าเลือดไหลออกจากตับน้อย จะทำให้ Venous return ลดลงมีผลต่อ Stroke volume(SV), Cardiac output(CO), และ Blood pressure(BP) ดังนั้นจึงถือได้ว่าตับเป็นแหล่งเก็บเลือดที่สำคัญแห่งหนึ่งของร่างกาย
·         หน้าที่เกี่ยวกับการทำลายสารพิษและสิ่งแปลกปลอม แบ่งออกเป็น 2 อย่าง
1. ถ้าเป็นการทำลายสารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมที่กระทำโดยเซลล์ตับโดยใช้ ปฏิกริยาทางเคมี เรียกว่า Detoxification
2. การทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยวิธี Phagocytosis ของตับ ซึ่งอาศัยการทำหน้าที่ของ Kupffer cell ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เซลล์พวกนี้จะทำหน้าที่กินหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับเลือดจากทาง เดินอาหารที่จะเข้าสู่ตับ
·         หน้าที่เกี่ยวกับการสร้างน้ำดี (Formation of bile) น้ำดีที่ตับสร้างจะไหลมาตาม Hepatic bile duct ซ้ายและขวาเข้าสู่ Cystic duct นำไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำดีไว้และดูดน้ำกลับทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นมากขึ้นก่อน ที่จะปล่อยเข้าสู่ Common bile duct และเข้าสู่ Duodenum เพื่อช่วยในการย่อยไขมันต่อไป
·         หน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด (Blood coagulation) ตับจะทำหน้าที่สังเคราะห์ Coagulating factors ที่สำคัญหลายตัว คือ Fibrinogen และ Prothrombin ถ้าตับเสียหน้าที่ Factors ต่างๆ เหล่านี้จะลดลงส่งผลให้การแข็งตัวของเลือดช้าลงหรือเป็นไปได้ยาก
·         หน้าที่เกี่ยวกับเป็นแหล่งสะสมไวตามิน (Storage of vitamins) และแร่ธาตุต่างๆ ไวตามิน A, D และ B12 รวมทั้งธาตุเหล็กและทองแดงด้วย ดังนั้นการกินอาหารที่ปรุงจากตับจึงสามารถป้องกันการขาดไวตามินและแร่ธาตุ ดังกล่าวได้
·         เป็นแหล่งสะสมธาตุเหล็ก (Storage of iron) ตับจะทำหน้าที่สะสมธาตุเหล็กไว้ในรูปของ Feritin ในเซลล์ของตับจะมี โปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Apoferritin ซึ่งชอบจับกับเหล็กมาก เมื่อมีเหล็กเข้าสู่ตับ Apoferritin จะทำหน้าที่จับเหล็กไว้และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ Ferritin ซึ่งจะถูกเก็บสะสมไว้จนกว่าถึงคราวที่ร่างกายต้องการใช้
·         ทำหน้าที่เกี่ยวกับ Metabolism ของสารอาหารในร่างกาย
1.Carbohydrate metabolism
1.1.เป็นที่สะสมอาหารจำพวกแป้งไว้ในรูป Glycogen เมื่อร่างกายต้องการใช้น้ำตาล Glucose ตับจะสลาย Glycogen ออกเป็น Glucose โดยขบวนการ Glycolysis และขับออกสู่กระแสเลือด ถ้าร่างกายมี Carbohydrate มากเกินไปตับจะเก็บส่วนที่เกินนี้ในรูปของ Glycogen โดยขบวนการ Glycogenosis เพราะฉะนั้นตับจึงทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
1.2. ทำหน้าที่สร้างน้ำตาล Glucose จากสารอื่น ที่ไม่ใช่ Carbohydrate โดยขบวนการ Glyconeogenesis เช่นการเปลี่ยน Amino acid ให้เป็น Glucose เป็นต้น
1.3. เปลี่ยนน้ำตาล Galactose ให้เป็นน้ำตาล Glucose
2.Fat metabolism
2.1. เปลี่ยน Fatty acid ให้เป็น Acetoacetic acid
2.2. สังเคราะห์ Cholesterol ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการสร้าง Bile salts
2.3. เปลี่ยน Carbohydrate และโปรตีน ให้เป็นไขมัน ไขมันที่ตับสังเคราะห์ขึ้นนี้จะถูกพาไปเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue)
3.Protein metabolism
·         เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดของทารกในครรภ์ (Embryo)
·         สลายฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงที่แก่แล้วจะถูกทำลายโดยม้ามให้เป็น Globin และ Heme จากนั้น Kupffer,s cells ในตับจะสลาย Heme ออกมาเป็น Bilirubin และธาตุเหล็ก (Fe)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น